ด้านที่ 3 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

  1. พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  2. มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัด
    การเรียนรู้
  3. นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ใน
    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
มีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยการเข้าร่วม อบรม/ประชุม/สัมมนา/ดูงาน
ตลอดปีงบประมาณ 2567 ในสาขาที่ตัวเองถนัดเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครู ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา วิธีการสอน และนำผลการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน ซึ่งในการพัฒนาตนเองไม่ว่าจะเป็นการอบรม/ ประชุม/สัมมนา ในปีงบประมาณนี้ จะมีทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ โดยจะขอแสดงรายละเอียดและแนบภาพหลักฐานประกอบ ดังนี้

อบรมการพัฒนาวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
และบุคลากรทางการศึกษา

กรรมการตัดสินการแข่งขัน กิจกรรม การแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับชั้น ม.1-3

ผู้ช่วยวิทยาการ ค่าย MEP English Camp 2023

อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
“สุขภาพจิตและการให้คำปรึกษาวัยรุ่น”

ผู้ช่วยวิทยากรการอบรม English Language Workshop Training for EIS and MEP Teachers

อบรมพัฒนาครูเพื่อเป็นครูมืออาชีพสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ และอบรมแนวทางการประเมินเกณฑ์ใหม่ วPA

อบรม Online Workshop
Introducing Pearson English Benchmark Test

อบรม Online Workshop การวัดระดับความสามารถทาง
ภาษาอังกฤษ 4 ทักษะตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษมาตรฐานสากล CEFR ระดับชั้นมัธยมศึกษา

อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา “สุขภาพจิตและการให้คำปรึกษาวัยรุ่น”

อบรมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

วิทยากร กิจกรรมค่าย “ยุวชนคนคุณธรรม”
โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ AI เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้
กิจกรรมการสร้างสื่อการเรียนการสอน ICT

3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนางานด้านวิชาชีพ (PLC)

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอน
  • สังเกต/นิเทศชั้นเรียน
  • ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้
  • วิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้/ชั้นเรียน

รวมถึงสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม PLC ซึ่งแต่ละคนจะมีบทบาทในแต่ละครั้งต่างกัน อาจจะเป็น Model teacher หรือ Buddy teacher ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้สอนหรือผู้สังเกตในคาบนั้น ๆ
เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะนำผลจากกระบวนการ PLC นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนต่อไป

แบบบันทึกกิจกรรม PLC ปีการศึกษา 2566

ภาพการวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ภาพการนิเทศชั้นเรียน

3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนางาน (PLC) ในกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านวง PLC กับเพื่อนครู ได้รับการนิเทศชั้นเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการนำผลจากกระบวนการ PLC นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบได้รับการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาทางการเรียน และปัญหาอื่น ๆ จากกระบวนการพัฒนาที่ได้รับจากกระบวนการ PLC และเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แสดงดังตารางและกราฟสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายบุคคล

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

จากผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2/66 พบว่า มีนักเรียนที่ผ่านการประเมิน
ผลการเรียนคิดเป็นร้อยละ 91.20 ไม่ผ่านการประเมินผลการเรียนคิดเป็นร้อยละ 8.80 ซึ่งส่วนหนึ่ง
มีปัญหาเนื่องจากการไม่ส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการติดตามและมีการจัด
สอนซ่อมเสริมให้ทั้งรูปแบบออนไลน์ และที่โรงเรียน รวมถึงขยายระยะเวลาในการส่งงาน แต่นักเรียน
บางคนไม่สามารถดำเนินการส่งตามระยะเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนด และไม่มาเรียนซ่อมเสริม จึงได้ประเมินผลการเรียนเป็น “ร” เพื่อให้โอกาสในการปรับปรุงผลการเรียนให้แก่นักเรียนกลุ่มนี้

กลับไปหน้าหลัก (ปีงบประมาณ 2567)